นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยปูมหลังการตรวจสอบปมกากแร่แคดเมียม บอกว่า เรื่องนี้ กมธ. เริ่มตรวจสอบตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยที่ปรึกษา กมธ. ได้รับข้อมูลว่ามีการขนย้าย “กากแร่” ที่ตาม EIA ไม่อนุญาตให้ขนย้าย ออกจาก จ.ตาก โดยขนย้ายมาแล้ว 2-3 บ่อ ใช้เวลา 2-3 เดือน ขณะนั้นยังไม่ทราบปลายทาง
จากนั้น กมธ. จึงเรียกประชุมนัดแรก เชิญผู้ว่าฯ จ.ตาก, อุตสาหกรรม จ.ตาก, อธิบดีกรมเหมืองแร่ มาชี้แจง ซึ่งทั้งทางจังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัด ส่ง รองผู้ว่าฯ และรองอุตสาหกรรม จ.ตาก มาแทน การประชุมในขณะนั้นมุ่งเป้าไปที่เมืองแห่งหนึ่งซึ่งเคยเป็นเหมืองสังกะสีก่อนจะปิดตัวไป ขณะนั้นหน่วยงานชี้แจงว่าเหมืองดังกล่าวมีการคืนพื้นที่ไปแล้ว ไม่ได้ทำเหมืองแร่ต่อ
ต่อมาในเดือนก.พ.2567 การประชุมครั้งที่ 2 ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้เหมืองสังกะสีดังกล่าวจะมีการปิดตัวลงไปแล้ว แต่มีการขนย้ายกากแคดเมียมและกากสังกะสี ที่เกิดจากการทำเหมือง ไปอยู่ที่ อ.เมือง จ.ตาก ทำให้ข้อมูลเริ่มชัดเจนว่ามีการละเมิด EIA เพราะกากแร่แคดเมียมจะต้องฝังกลบตลอดชีวิต ขณะนั้น กมธ. ขอให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หาข้อมูลว่ากากแร่ถูกขนออกจาก จ.ตาก ไปที่ไหน จำนวนเท่าไหร่
กระทั่งปลายเดือนมี.ค. 2567 ในการประชุมครั้งที่ 3 มีรองอธิบดีกรมโรงงานฯ และอุตสาหกรรม จ.ตาก มาด้วยตนเอง โดยอุตสาหกรรม จ.ตาก ชี้แจงว่าการขนย้ายถูกต้อง โดยเป็นคนอนุญาตให้ขนย้ายเอง ซึ่งที่ปรึกษา กมธ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งข้อสังเกตว่าการอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผิด EIA ที่ระบุว่าห้ามนำกากแร่ออกมาเด็ดขาดหลังจากที่ฝังกลบไปแล้วตามหลักวิชาการ
ส่วนรองอธิบดีกรมโรงงานฯ แจงว่า พบกากแร่ที่โรงงานใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งลงไปตรวจเอง พบขนย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะปลายทางไม่มีใบอนุญาตหลอมแคดเมียม
ต่อมาวันที่ 3 เม.ย. 2567 กมธ. ประชุมครั้งที่ 4 รอบนี้เชิญ 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังพบความชัดเจนแล้วว่ามีการส่งแคดเมียมไปจังหวัดสมุทรสาคร โดยหน่วยงานที่ร่วมประชุม เช่น ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร, อธิบดีกรมเหมืองแร่, ผบก.ปทส., กรมอนามัย ได้ข้อสรุปว่าการขนย้ายกากแร่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกากแร่อันตราย กมธ. จึงแถลงข่าวที่สภา เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลงมาดูเรื่องนี้ในเย็นวันนั้น
ตลอดหลายเดือนที่มีการเรียกตัวแทนจากอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ร่วมประชุมชี้แจง กมธ. หลายครั้ง แต่กว่าจะเปิดเผยว่าเป็นคนอนุญาตให้บริษัทขนย้ายกากแร่จาก จ.ตาก มาที่ จ.สมุทรสาคร เอง ก็ในการประชุมครั้งที่ 3 ประเด็นนี้ นายอัครเดช มองว่า การที่หน่วยงานราชการไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ กมธ. เท่าที่ควร ทำให้เกิดความล่าช้า
นายอัครเดช ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การขออนุญาตขนย้ายจากแร่ออกจากจังหวัดตาก แม้ทางบริษัทจะไม่ได้ระบุชนิดของกากแร่ แต่อุตสาหกรรมจังหวัดตากควรต้องดู EIA ก่อนอนุญาต ซึ่งต้องรู้ว่าตาม EIA นั้น กากแร่ที่ถูกฝังกลบไปซึ่งบริษัทขออนุญาตขนย้ายออกมานั้น มีแร่แคดเมียมที่เป็นอันตราย ส่วนกระบวนการตรวจทานในการอนุญาตขนย้าย จะต้องถึงกรมโรงงานฯ รับรู้ด้วยหรือไม่ นายอัครเดช บอกว่า เรื่องนี้ต้องตรวจสอบ โดยจะต้องหาคนรับผิดชอบให้ได้
นายอัครเดช ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การขนย้ายแคดเมียม เริ่มชัดเจนว่าเป็นขบวนการทุนจีน จากการจับกุมชาวจีนเจ้าของโกดังใน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ที่รับสารภาพว่าซื้อกากแร่ต่อจากชาวจีนใน จ.สมุทรสาคร ซึ่ง กมธ. มีข้อมูลว่า บริษัทปลายทางใน จ.สมุทรสาคร ตามที่มีการขออนุญาตขนย้ายกากแร่มาไว้ตั้งแต่แรก เป็นบริษัทนอมินีของทุนจีนด้วยคำพูดจาก JOKER123
นายอัครเดช เชื่อว่า กากแร่ที่ยังหาเจอไม่ครบ น่าจะยังไม่มีการหลอม เพราะกระบวนการไม่ใช่ง่ายๆ แต่ก็ต้องเร่งหาให้เจอ เพราะหากมีการหลอมแร่แคดเมียมไปแล้วจริง จะกระทบอย่างมากกับสุขภาพของประชาชน โดย กมธ.อุตสาหกรรม นัดประชุมกันอีกครั้งวันที่ 17 เม.ย.นี้ เพื่อหาคำตอบให้กับสังคมว่าใครจะต้องรับผิดชอบในกรณีนี้ โดยหลังจากนั้นอาจมีการลงพื้นที่ไป จ.ตาก เพื่อดูการจัดการบ่อฝังแร่ต้นทางด้วย
ซึ่งส่วนตัวยังเป็นห่วงกับคำสั่งให้ขนย้ายกากแร่กลับสู่ต้นทางภายใน 7 วัน เพราะกระบวนการขนย้ายมาขนาดทำไม่ถูกหลักวิชาการยังใช้เวลาหลายเดือน จึงอยากให้มั่นใจก่อนว่าการจะขนกากแร่กลับไป จะผ่านกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่ให้มีการรั่วไหลระหว่างทาง