Games News

“ซูดาน” ยังปะทะเดือด แม้ผู้นำกองทัพยอมขยายเวลาหยุดยิง

0 0
Read Time:4 Minute, 55 Second

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา กองทัพซูดาน และกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็ว หรือ RSF ยังคงต่อสู้กันอย่างดุเดือดที่ชานกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน ซึ่งทำลายข้อตกลงสงบศึกในความขัดแย้งที่ดำเนินมาต่อเนื่องมาเป็นเวลา 13 วัน

แม้ก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีท่าทียอมอ่อนข้อเพื่อยุติความขัดแย้ง แต่เมื่อช่วงค่ำวานนี้ พลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการกองทัพซูดาน ได้ส่งสัญญาณในเชิงบวก โดยให้ความเห็นชอบเบื้องต้นในแผนการขยายระยะเวลาหยุดยิงออกไปอีก 72 ชั่วโมง

"ทหารแย่งชิงอำนาจ" ที่มาของการสู้รบรอบใหม่ในซูดาน

ผู้นำ RSF ปรากฎตัวครั้งแรกใกล้ทำเนียบปธน. ซูดาน

แผนดังกล่าว ได้รับการผลักดันจากองค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนา (IGAD) ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีสมาชิก 8 ประเทศ รวมถึงซูดานรวมอยู่ด้วย หลังข้อตกลงหยุดยิง ณ ปัจจุบันจะครบกำหนดในวันพฤหัสบดีนี้

ขณะเดียวกันกองทัพซูดานได้เตรียมส่งผู้แทนพิเศษด้านการทูตของกองทัพเดินทางไปยังกรุงจูบา เมืองหลวงของซูดานใต้ เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับวิกฤติความขัดแย้งของซูดานในระดับภูมิภาคด้วย อย่างไรก็ตามกองกำลัง RSF ยังไม่ได้แสดงความเห็นอย่างเป็นทางการ ต่อการเรียกร้องการหยุดยิงครั้งใหม่

ส่วนฝากฝั่งสหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า แอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ และ มุสซา ฟากี มะฮะหมัด ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกา ได้หารือเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเพื่อยุติการสู้รบอย่างยั่งยืนในซูดาน

นอกเหนือจากกรุงคาร์ทูมที่เป็นสมรภูมิรบระหว่างกองกำลังของทั้งสองฝ่ายแล้ว การสู้รบอย่างหนักหน่วงที่สุดเมื่อวานนี้ ( 26 เม.ย.) เกิดขึ้นในเมืองออมเดอร์มาน ซึ่งอยู่ติดกับกรุงคาร์ทูม ยังคงมีการรายงานการปะทะกันของทั้งสองฝ่าย

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า มีเสียงปืน และการโจมตีทางอากาศดังขึ้นอย่างหนักหน่วงในช่วงเย็น ขณะที่ในกรุงคาร์ทูมยังมีรายงานพบแก๊งก่อความไม่สงบก่อเหตุปล้นสะดมคำพูดจาก สล็อตวอเลท

นับตั้งแต่การสู้รบเพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างกองทัพซูดาน และกองกำลัง RSF เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้การสู้รบคร่าชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 512 คน และบาดเจ็บเกือบ 4,200 คน

ขณะที่การโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายยังส่งผลทำให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศถูกจำกัด ส่วนโรงพยาบาลหลายแห่งก็ได้รับความเสียหายด้วยเช่นกัน

มีเสียงจากแพทย์ที่รักษาผู้บาดเจ็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงคาร์ทูมอัดคลิปวีดิโอบอกเล่าความยากลำบากในการช่วยชีวิตผู้คนท่ามกลางการสู้รบ

วิดีโอเผยให้สภาพภายในโรงพยาบาลที่เต็มไปด้วยผู้ป่วย ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ก็งานล้นมือ ส่วนเวชภัณฑ์ต่างๆ ก็เหลือน้อยเต็มที

ด้านองค์การอนามัยโลก ( WHO) ระบุว่า เวลานี้มีสถานพยาบาลในกรุงคาร์ทูมเพียงร้อยละ 16 เท่านั้นที่ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกจากโรคระบาด การขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม รวมถึงการหยุดชะงักของการให้บริการด้านสาธารณสุข ซึ่งทำให้แพทย์ไม่สามารถเข้าถึงพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บได้

ทั้งนี้ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ระบุเพิ่มด้วยว่า ความขัดแย้งในซูดาน ส่งผลให้โครงการช่วยเหลือเด็กที่ขาดสารอาหารเฉียบพลันประมาณ 50,000 คนต้องหยุดชะงักงัน

นอกเหนือจากโรงพยาบาลแล้ว ปั๊มน้ำมัน และร้านค้าในกรุงคาร์ทูมเริ่มเผชิญกับการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนในการดำรงชีพเช่นเดียวกัน

อปั๊มน้ำมันร้าง และร้านค้าบางส่วนในกรุงคาร์ทูมที่ปิดตัวลง ส่วนร้านที่ยังเปิดให้บริการอยู่ก็มีลูกค้าเข้ามาซื้อของอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่า ชั้นวางสินค้าบางส่วน และตู้แช่กลับว่างเปล่า ปราศจากสินค้ ทั้งนี้มีรายงานว่า ร้านต่างๆในกรุงคาร์ทูมเริ่มเผชิญกับการขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค และแก๊ส มีเพียงผักเล็กน้อยที่วางอยู่ให้ประชาชนพอหาซื้อได้

ด้านเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งเปิดเผยว่า สินค้าเหล่านี้น่าจะหมดในอีก 4 หรือ 5 วันข้างหน้านี้

แม้ทางร้านจะพยายามออกไปหาซื้อผัก และผลไม้มาเติมทุกวันก็ตาม และตอนนี้ร้านยังขาดแคลนสินค้าประเภทธัญพืช อาหารกระป๋อง แป้งสาลีและน้ำตาลอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสินค้าจำเป็น

เช่นเดียวกันกับร้านขายยาส่วนใหญ่ก็เผชิญกับการขาดแคลนยา ทำให้ร้านส่วนมากต้องปิด เหลือเพียงไม่กี่ร้านในเมืองหลวงเท่านั้นที่ยังคงเปิดให้บริการอยู่ เจ้าของร้านขายยาแห่งหนึ่งระบุว่า ถ้ากองทัพซูดาน และกองกำลัง RFS ยังสู้รบกันต่อไป อาจทำให้เกิดหายนะได้

วิกฤตในซูดาน ส่งผลทำให้ชาวซูดานหวาดผวา และแห่เดินทางหนีไปค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เวลานี้ผู้หญิง และเด็กชาวซูดานจำนวนมากรวมตัวกันที่ค่ายผู้ลี้ภัยอันแออัดในสาธารณรัฐชาด ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายแดนซูดาน ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ พวกเขาอาศัยเพิงเพิงที่ทำจากไม้และคลุมด้วยผ้าเป็นที่อยู่ชั่วคราว

หญิงชาวซูดานรายนี้เป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัยจำนวนหลายพันคนที่แสวงหาความปลอดภัยให้กับชีวิตด้วยการหนีข้ามชายแดนมาประเทศเพื่อนบ้าน

เธอบอกว่า ครอบครัวของเธอต้องหนีออกจากบ้านของตัวเอง เพราะมีกลุ่มติดอาวุธมาเคาะถึงประตูหน้าบ้าน ทำให้เธอต้องรีบขี่ลาเดินทางมาที่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ และพลัดหลงกับลูกอีก 7 คน

ทั้งนี้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR คาดการณ์ว่า วิกฤตความขัดแย้งในซูดาน อาจทำให้มีพลเรือนมากกว่า 270,000 คน อพยพหนีเข้าไปในสาธารณรัฐชาด และประเทศซูดานใต้ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และนับตั้งแต่การสู้รบในซูดานปะทุ ชาดรองรับผู้ลี้ภัยชาวซูดานมากถึง 20,000 คนแล้ว และคาดว่า การสู้รบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะกระตุ้นให้เกิดการพลัดถิ่นมากขึ้นอีก

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %