1. Value Investing เน้นการเลือกซื้อบริษัทที่มี พื้นฐานแข็งแรง มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน เหมาะกับการลงทุนทุกช่วงเวลา เพราะเน้นที่มูลค่าพื้นฐานเป็นหลักโดยเป็นการลงทุนระยะกลางถึงยาว
ต้องใช้การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทอย่างละเอียดรอบคอบ หุ้นที่คัดเลือกมาส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีความแข็งแรงระดับหนึ่งแล้ว มีธุรกิจที่เติบโตได้มั่นคง รายได้สม่ำเสมอและมีการทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
2. Growth Investing เป็นการลงทุนแบบเน้นการเติบโตรูปแบบนี้เหมาะกับช่วงเศรษฐกิจขยายตัว ต้นทุนทางการเงินต่ำ และดอกเบี้ยไม่สูงนัก เลือกหุ้นที่สามารถขยายตัวได้รวดเร็วกว่าธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น บริษัทที่ค้นพบนวัตกรรมหรือเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ของลูกค้า สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่า จึงสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วหากบริษัทเริ่มขยายกิจการไปได้ระยะหนึ่ง อัตราการเติบโตจะเริ่มชะลอตัว เนื่องจากถึงจุดอิ่มตัวและต้องใช้การลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ส่วนแบ่งทางตลาดมากขึ้น
3. Momentum Investing หรือ ลงทุนแบบตามกระแสเหมาะกับช่วงที่มีปัจจัยเข้ามากระทบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น สัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การประกาศงบการเงิน การแถลงนโยบายของธนาคากลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นต้น
การลงทุนจะพิจารณาจากปัจจัยที่กำลังมีผลกับการตัดสินใจของนักลงทุนและเม็ดเงินในช่วงเวลานั้น ต้องใช้ข้อมูลที่ค่อนข้างอัปเดตใกล้ชิด และทันเหตุการณ์ข่าวสารการลงทุนต่างๆ ในระยะสั้น
ส่งผลให้ไม่ได้ให้น้ำหนักมากนักกับปัจจัยพื้นฐานระยะกลางถึงยาว เน้นให้ความสำคัญกับอารมณ์ของตลาด มองหาปริมาณซื้อขายที่มีนัยสำคัญ เพื่อสร้างผลตอบแทนแบบรวดเร็วและสอดคล้องกับเรื่องราวในช่วงนั้นๆ
4.Contrarian Investingเหมาะกับช่วงที่เริ่มมีสัญญาณของการอิ่มตัว หรือมูลค่าของบริษัทลดลงถึงจุดที่เหมาะสมลักษณะการลงทุนแบบสวนทางตลาด ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนระดับโลก ก็เป็นนักลงทุนคนหนึ่งที่ยึดหลักการนี้ ตามคำนิยามที่ได้ยินกันบ่อยครัั้ง “จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว และจงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า”
โดยมีหลักการว่า แนวโน้มใดก็ตามเมื่อพัฒนาไปจนถึงระดับหนึ่งแล้ว ต้องกลับตัว (สู่ค่าเฉลี่ย) เสมอ กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ มองหาโอกาสเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะที่มองโลกในแง่ดีเกินไป (Greed) หรือร้ายเกินไป (Fear) และขายในระดับราคาที่เหมาะสม
จุดสังเกตหุ้นร้อน หุ้นผันผวน ลักษณะแบบไหนที่ควรชั่งใจ
"สิทธิผู้ถือหุ้น" ที่ไม่ควรละเลย ก.ล.ต.แนะปกป้องดูแลสิทธิของตนเอง
5. Income Investing เหมาะกับช่วงเวลาที่ต้องการลดความเสี่ยงของเงินลงทุน แต่ยังต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป็นการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนจากการลงทุนนอกเหนือจากกำไรส่วนต่างของราคา (Capital Gain) คือ ผลตอบแทนในรูปแบบของรายได้ เงินปันผล ดอกเบี้ยรับจากการลงทุน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมหากต้องการความสม่ำเสมอของกระแสเงินสด เช่น นักลงทุนวัยเกษียณที่ไม่มีรายได้ประจำ เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
6.Active Investing การลงทุนรูปแบบนี้เหมาะกับการลงทุนทุกช่วงเวลา เป็นการลงทุนที่อาศัยความขยันและทักษะของนักลงทุนในการพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าตลาดโดยรวม อาจเลือกสร้างผลตอบแทนจากความผันผวนระยะสั้น หรืออาจเกิดจากการปรับพอร์ตลงทุนไปตามกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนต่าง ๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อแสวงหาโอกาสจากวัฏจักรเศรษฐกิจ
กลยุทธ์สำคัญ คือ การพิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพ เช่น พื้นฐานของบริษัท การเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาค รวมถึงเชิงปริมาณ เช่น สัญญาณการซื้อขาย ปริมาณการซื้อขาย และภาวะอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด เป็นต้น
7.Passive Investing เหมาะกับการลงทุนทุกช่วงเวลาเน้นลงทุนซื้อและถือเป็นระยะเวลานาน (Buy and Hold) ดังนั้น จึงเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่มีการกระจายตัวที่ดีเพื่อลดความเสี่ยง เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่คาดหวังได้ผลกำไรที่รวดเร็วหรือจากราคาเคลื่อนไหวในรายวัน
หลักการสำคัญ คือ นักลงทุนต้องเชื่อว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่มีการกระจายตัวและลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเกาะไปกับดัชนี จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้ได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง นอกจากจะเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองแล้ว ยังต้องศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนเสมอด้วย
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย